เมนู

ถึงบุคคลที่ถือแต่ความเห็นของตน ถือรั้น ถอนได้ยาก ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจ
ของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนถือแต่ความเห็นของตน ถือรั้น ถอนได้ยาก
บ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนถือแต่ความเห็น
ของตน ไม่ถือรั้น ถอนได้ง่ายดังนี้.

การพิจารณาตัวเอง


[225] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมทั้ง 16 ข้อนั้น ภิกษุ
พึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนมีความปรารถนาลามก ลุอำนาจ
แห่งความปรารถนาลามกหรือไม่. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนมี
ความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามกจริง ก็ควรพยายามเพื่อ
ที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่ใช่คน
มีความปรารถนาลามก ไม่ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก ภิกษุนั้นพึงอยู่
ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรม
ทั้งหลาย.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาคนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็น
คนยกตนข่มผู้อื่นหรือไม่. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนยกตนข่ม
ผู้อื่นจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณา
อยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคน
มักโกรธ อันความโกรธครอบงำแล้วหรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เรา
เป็นคนมักโกรธ อันความโกรธครอบงำแล้วจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละ

อกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนมัก
โกรธ อันความโกรธไม่ครอบงำ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นที
เดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็น
คนมักโกรธ ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุหรือไม่. หากพิจารณาอยู่รู้
อย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุจริง ก็
ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้
ว่า เราไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ ภิกษุนั้น
พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศล
ธรรมทั้งหลาย.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็น
คนมักโกรธ มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุหรือไม่. หากพิจารณา
อยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ
จริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่
รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ
ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน
ในกุศลธรรมทั้งหลาย.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็น
คนมักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธหรือไม่. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า
เราเป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะ
ละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนมัก
โกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้น
ทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็น
จำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์หรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า
เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์จริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละ
อกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูก
โจทก์ฟ้อง ไม่กลับโต้เถียงโจทก์ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว
หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็น
จำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์หรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า
เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์จริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละ
อกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูก
โจทก์ฟ้อง ไม่กลับรุกรานโจทก์ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว
หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็น
จำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับปรักปรำโจทก์หรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า
เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับปรักปรำโจทก์จริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละ
อกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูก
โจทก์ฟ้อง ไม่กลับปรักปรำโจทก์ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้น
ทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็น
จำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดง
ความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏหรือไม่. หากพิจารณา
อยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน
พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏจริง

ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่าง
นี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ไม่เอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง
ไม่แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ ภิกษุนั้นพึง
อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศล-
ธรรมทั้งหลาย.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็น
จำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ไม่พอใจตอบในความประพฤติหรือไม่ หากพิจารณาอยู่
รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ไม่พอใจตอบในความประพฤติจริง
ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมที่ชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า
เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง พอใจตอบในความประพฤติ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วย
ปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรม
ทั้งหลาย.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็น
คนลบหลู่ ตีเสมอหรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนลบหลู่
ตีเสมอจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณา
อยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนลบหลู่ ไม่ตีเสมอ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็น
คนริษยา เป็นคนตระหนี่หรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนริษยา
เป็นคนตระหนี่จริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หาก
พิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนริษยา ไม่เป็นคนตระหนี่ ภิกษุนั้นพึง
อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศล
ธรรมทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็น
คนโอ้อวด เจ้ามายาหรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนโอ้อวด
เจ้ามายาจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หาก
พิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่เป็นคนเจ้ามายา ภิกษุนั้น
พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ใน
กุศลธรรมทั้งหลาย.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็น
คนกระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคน
กระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่นจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย.
หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนกระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น ภิกษุนั้น
พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ใน
กุศลธรรมทั้งหลาย.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็น
คนถือเอาแต่ความเห็นของตน ถือรั้น ถอนได้ยากหรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้
อย่างนี้ว่า เราเป็นคนถือเอาแต่ความเห็นของตน ถือรั้น ถอนได้ยากจริง
ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้
ว่า เราไม่เป็นคนถือเอาแต่ความเห็นของตน ไม่ถือรั้น ถอนได้ง่าย ภิกษุ
นั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ใน
กุศลธรรมทั้งหลาย.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากภิกษุพิจารณาอยู่ เห็นชัดอกุศลธรรม
อันชั่วช้าเหล่านี้ ทั้งหมด ที่ยังละไม่ได้ในตน ภิกษุนั้นก็ควรพยายามเพื่อที่จะละ
อกุศลธรรมอันชั่วช้าเหล่านั้นทั้งหมด หากพิจารณาอยู่ เห็นชัดอกุศลธรรม

อันชั่วช้าเหล่านี้ทั้งหมด ที่ละได้แล้วในตน ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์
นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันทั้งกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อุปมาเหมือนสตรีหรือบุรุษ รุ่นกำดัด
ชอบโอ่อ่า ส่องดูเงาหน้าของตนในกระจกเงา หรือในภาชนะน้ำใสสะอาด
บริสุทธิ์ ถ้าเห็นธุลีหรือสิวบนใบหน้านั้น ย่อมพยายามที่จะให้ธุลีหรือสิวนั้น
หายไป หากไม่เห็นธุลีหรือสิวบนใบหน้า ก็จะรู้ลึกพอใจว่า ช่างเป็นลาภ
ของเรา ใบหน้าของเราบริสุทธิ์สะอาดดังนี้ ฉันใด แม้ภิกษุหากพิจารณาอยู่
เห็นชัดอกุศลธรรมอันชั่วช้าเหล่านี้ทั้งหมด ที่ยังละไม่ได้ในตน ภิกษุนั้นก็ควร
พยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสียทั้งหมด แต่ถ้าเมื่อพิจารณาอยู่
เห็นชัดอกุศลธรรมอันชั่วช้าเหล่านี้ทั้งหมด ที่ละได้แล้วในตน ภิกษุนั้นพึงอยู่
ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรม
ทั้งหลาย ฉันนั้น นั่นแล.
ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวภาษิตดังนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจ
ชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้วแล.
จบ อนุมานสูตร ที่ 5

อรรถกถาอนุมานสูตร


อนุมานสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับดังนี้:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภคฺเคสุ ได้แก่ ในชนบทมีชื่ออย่างนั้น.
ก็เนื้อความแห่งคำพึงทราบโดยทำนองที่กล่าวแล้วในที่นี้ . บทว่า สํสุมารคิเร
ได้แก่ ในนครมีชื่ออย่างนั้น. ได้ยินว่า ในวันเป็นที่กำหนดพื้นที่สร้างนครนั้น
จระเข้ในสระอันไม่ไกลได้ร้องขึ้น เปล่งเสียงว่า คิระ ครั้นสร้างนครนั้น
เสร็จแล้ว ประชาชนทั้งหลายจึงตั้งชื่อนครนั้นว่า สังสุมารคิร. บทว่า เภสก-
ฬาวเน
ได้แก่ ในป่าอันมีชื่อว่า เภสกฬา. บาลีว่า เภสกวัน ดังนี้ก็มี.
บทว่า มิคทาเย ความว่า ป่านั้นได้เกิดในที่เป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อและนกทั้ง
หลาย เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า มิคทายะ. บทว่า ปวาเรติ ได้แก่ ย่อม
ปรารถนา. บทว่า วทนฺตุ ความว่า จงว่ากล่าว คือ จงโอวาท จงพร่ำสอน
ด้วยสามารถแห่งโอวาทและอนุสาสนี. บทว่า วจนีโยมฺหิ ความว่า เราอัน
ท่านพึงว่ากล่าว คือ พึงพร่ำสอน พึงโอวาท. บทว่า โส จ โหติ ทุพฺพโจ
ความว่า ก็ภิกษุนั้นเป็นผู้ว่ากล่าวโดยยาก คือ กล่าวแล้วไม่อดทน. บทว่า
โทวจสฺสกรเณหิ ความว่า ด้วยธรรม 16 ประการ อันมาแล้วในข้างหน้า
ซึ่งเป็นธรรมทำให้เป็นผู้ว่ากล่าวโดยยาก. บทว่า อปทกฺขิณคฺคาหี อนุ-
สาสนึ
ความว่า ก็ภิกษุใด เมื่อถูกว่ากล่าว จึงพูดว่า ท่านทั้งหลายว่ากล่าว
ผมเพราะเหตุไร ผมย่อมรู้สิ่งที่ควรและไม่ควร โทษและไม่ใช่โทษ ประโยชน์
และไม่ใช่ประโยชน์ของตน ภิกษุนี้ ชื่อว่าไม่รับคำพร่ำสอนโดยเบื้องขวา ย่อม
รับโดยเบื้องซ้าย เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ. บทว่า
ปาปกานํ อิจฺฉานํ คือ ความปรารถนาอันก่อให้เกิดความไม่สงบลามก.
บทว่า ปฏิปฺผรติ ย่อมดำรงตนเป็นผู้โต้ตอบเป็นข้าศึก. บทว่า อปสาเทติ